คอร์สกระตุ้นพัฒนาการ ตามช่วงวัย
“ Mental kids ของเรามีการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม
ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็ก
การเข้าใจภาษาและการสื่อสาร สติปัญญา ความคิดอารมณ์ สังคม และความรู้สึก อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย
คอร์สกระตุ้นพัฒนาการตามช่วงวัย
Mental kids ของเรามีการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับเด็กตามช่วงวัย ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเอง สังคมของเด็กแต่ละช่วงวัย โดยมีแนวการเรียนการสอนเพื่อสร้างความผูกพัน ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ Mental kids มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
แนวการเรียนการสอนเพื่อสร้างความผูกพัน และภูมิคุ้มกันทางจิตใจ
1. สายผูกพัน รักและเอาใจใส่เด็ก โดยปลูกฝังให้เด็กเติบโตเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี จิตใจมั่นคงเชื่อมั่นในตัวเอง มีอารมณ์สุขุม หนักแน่น
2. ฝึกให้เด็กมีโอกาสช่วยเหลือตนเอง โดยปลูกฝังให้เด็กรู้จักคิด รู้จักทำ มีความ
รับผิดชอบ และพึ่งพาตนเอง
3. ฝึกให้เด็กรู้จักรอคอย อดทน และอดกลั้น โดยฝึกให้เด็กมีความสามารถในการ
ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีความยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งล่อใจหรือสิ่งที่มายั่วยุได้ ตัดสินใจ
แยกแยะได้ว่าสิ่งใดควรทำรวมถึงสอดแทรกจริยธรรมคุณธรรมที่ดีในสังคม และการเคารพกฎเกณฑ์ในสังคม
แนวการเรียนการสอนเพื่อสร้างความผูกพัน และภูมิคุ้มกันทางจิตใจ
ที่มีเสียงตรงหน้า
อายุ 2 เดือน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา เด็กสามารถมองตามสิ่งของจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง : มองตามลูกบอลผ้าสักสีแดง
อายุ 3-4 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา เด็กสามารถหันตามเสียงเรียก กรุ๋งกริ่ง
(ชนิดเสียงดัง) เป็นต้น
อายุ 5-6 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา เด็กจะสนใจคนพูดและสามารถมองของเล่นที่ครูเล่นกับเด็ก
อายุ 7-9 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว เด็กสามารถใช้เครื่องเกาะยืน หย่อนตัว
หยิบของเล่นมาเล่นในระดับสายตาได้
กิจกรรมตัวอย่าง
ฝึกทักษะกล้ามเนื้อปากกระตุ้นการพูดช้า ภาษาล่าช้า ฝึกพูด สามารถฝึกได้ตั้งแต่แรกเกิดด้วยวิธีการออกเสียง ภาษาท่าทาง และภาษากาย การพูดสื่อสารของเด็กจะเกิดได้ดีต้องมีสิ่งต่อไปนี้ คือ ลูกต้องได้ยินเสียงก่อนที่จะหัดพูด ต้องมีการโต้ตอบ 2 ทาง และมีอวัยวะในการเปล่งเสียง เช่น กิจกรรมการเล่นเสียงที่ริมฝีปาก ประกอบด้วยพยัญชนะ และเสียงสระ เช่น “บา, ดา, กา, มา” จากนั้นค่อยๆเพิ่มคำเป็นพยางค์ เช่น “ดาดาดา, บาบาบา, ปาปาปา, มามามา” จนถึงอายุ 1 ขวบครึ่งจนจดจำคำศัพท์อย่างน้อยประมาณ 50 คำ เมื่ออายุ 2 ขวบ จะเริ่มนำคำศัพท์ที่มีความหมายต่างกัน มาต่อกันได้ เช่น ขอขนม, กินข้าว, ไปเที่ยว เป็นต้น (คู่มือสำหรับพ่อแม่ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, สืบค้น 2563)