ภาวะออทิสติก ทำให้พ่อแม่เครียดสูง

สมาธิสั้น พัฒนาการล่าช้า ภาษาล่าช้า ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม

“ภาวะออทิสติก” ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พบว่า

“ภาวะออทิสติก” สามารถเกิดขึ้นในเด็กตั้งแต่อายุ 0-18 ปี คาดว่ามีประมาณ 188,860 คน ซึ่งส่งผลต่อความเครียดของครอบครัวที่มีลูกเป็น “ภาวะออทิสติก” อย่างมาก (สถาบันราชานุกูล, 2563)

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจิตแพทย์ได้กล่าวถึงครอบครัวที่มีลูกเป็น “ภาวะออทิสติก” เกินครึ่งมีความเครียดสูง สาเหตุลูกสื่อสารไม่ได้ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีความเชื่อมั่น ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพร่างกาย และจิตใจของครอบครัวเป็นอย่างมาก โดยพบว่าครอบครัวที่มีลูกเป็นออทิสติกร้อยละ 50 มีความเครียด และการปรับตัวในการใช้ชีวิตได้ยาก เนื่องจาก “ภาวะออทิสติก” มีความแตกต่างจากโรคอื่นๆ ซึ่งหากเป็นความพิการทางกาย พ่อแม่จะเห็นรูปลักษณ์ความผิดปกติอย่างชัดเจนและคงที่ แต่ “ภาวะออทิสติก”ความเครียดของพ่อแม่มักมาจากการที่ลูกสื่อสารไม่ได้ตามวัย พัฒนาการล่าช้า ลูกไม่มีทักษะทางสังคม มีปัญหาพฤติกรรมซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอด สร้างความตระหนกและไม่เชื่อมั่นให้พ่อแม่ ยิ่งพ่อแม่ที่ต้องแบกรับภาระต่างๆ ก็ยิ่งเครียดส่งผลกระทบปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การงาน และการเงิน (สถาบันราชานุกูล, 2560)
Mental kids ของเราจึงเห็นถึงความสำคัญในการดูแลเด็กๆ ครอบครัว เพื่อให้คำปรึกษาอย่างครบองค์รวมครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา

โดยมีผู้เชี่ยวชาญบุคลากรทางการแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก นักจิตวิทยาคลินิก และครูการศึกษาพิเศษ เพื่อให้เด็กออทิสติกได้รับการบำบัดตามโปรแกรมของเรา นอกจากนี้ Mental kids ยังให้คำปรึกษาครอบครัวที่กำลังเผชิญกับความเครียดของลูกที่มี “ภาวะออทิสติก” โดยมีการศึกษา ค้นคว้า และทำวิจัยผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม

ได้อธิบายว่า “ภาวะออทิสติก” เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดจากความผิดปกติของสมองทั้งในด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช โดยมีลักษณะผิดปกติที่แสดงให้เห็นตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • (A) มีความบกพร่องในการพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย
  • (B) มีความบกพร่องลักษณะของพฤติกรรม การทำกิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ จำกัดเฉพาะบางเรื่อง และไม่ยืดหยุ่น ซึ่งสามารถสังเกตได้ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป

โดยรูปแบบโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานคือ การส่งเสริมการจัดการกับความเครียด ตามแนวคิดการดูแลแบบองค์รวม ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ/อารมณ์ สังคมและปัญญา โดยฝึกทักษะให้มารดาสามารถจัดการกับความเครียดด้วยตนเอง และมีวิธีการจัดการความเครียดได้หลากหลายวิธี ดังนั้นการเลือกวิธีการจัดการความเครียด จึงต้องขึ้นอยู่กับการรับรู้อย่างเหมาะสมของแต่ละคน โดยส่งเสริมให้มารดารับรู้ในความสามารถของตนเองให้มีความรู้สึกด้านบวกและมีความรู้สึกดีกับตนเอง ส่งผลให้มารดาเกิดศักยภาพ และมั่นใจที่จะปฏิบัติ โดยแสดงออกมาในรูปแบบของการปฏิบัติจนกลายเป็นทักษะในการจัดการความเครียด ซึ่งมารดาสามารถปฏิบัติได้ครอบคลุม 3 ทักษะ ได้แก่

  1. ทักษะการจัดการกับปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่มีต่อความเครียด
  2. การเพิ่มการต้านทานความเครียด
  3. การลดความถี่ของสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด

เพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพ ตลอดจนลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม นำไปสู่
การเจ็บป่วยทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่เป็นผลกระทบมาจากความเครียด

“ภาวะออทิสติก” เป็นความผิดปกติในแง่ของพัฒนาการที่เกิดขึ้นมากในเรื่องทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาพูด และภาษากาย มีข้อจำกัดทางสังคม สื่อสารความต้องการของตัวเองไม่เป็น และไม่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น อาจจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมซ้ำซาก เกรี้ยวกราด เมื่อโตขึ้น ในรายที่อาการรุนแรงอาจจะใช้พละกำลังของตัวเองไม่ถูกทิศทาง พฤติกรรมที่คนอื่นมองเห็นแล้วไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกินครึ่งมีสติปัญญาบกพร่อง พัฒนาการล่าช้าร่วมด้วย การเกิดโรคยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งพบว่ามาจากคุณแม่อายุเยอะ พันธุกรรมก็มีส่วนแต่ไม่ได้ตรงเหมือนกับโรคเบาหวาน การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าติดเชื้ออะไร การรักษาแน่นอนว่ารักษาเร็วก็เพิ่มโอกาสในการทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ (อัมพร เบญจพลพิทักษ์, 2560) Mental kids จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่รับฟังปัญหาของคุณพ่อคุณแม่และมีเทคนิคต่างๆที่ช่วยให้ครอบครัวเลี้ยงดูลูกอย่างมีความสุข และเห็นเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้น

สามารถดูงานวิจัยได้ที่ลิงค์
ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดแบบผสมผสานต่อทักษะการจัดการ กับความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก สเปกตรัม

เสาวภาคย์ ทัดสิงห์
สถาบันประสาทวิทยา

ชมชื่น สมประเสริฐ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พนิดา ศิริอำพันธ์กุล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

บทความ: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101701

งานวิจัย: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5614030129_5562_5633.pdf

 

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn
Picture of cpayut

cpayut

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความที่เกี่ยวข้อง